ชนิดของกระดาษคราฟท์

โครงสร้างของกล่องกระดาษลูกฟูกประกอบด้วย 

  • กระดาษแผ่นเรียบ ( Liner Board )  คือ กระดาษที่ติดอยู่กับลอนลูกฟูกเป็นแผ่นปะหน้าลอนลูกฟูกซึ่งเราจะใช้กระดาษคราฟท์เป็นกระดาษแผ่นเรียบนั่นเอง

– กระดาษคราฟท์ (Kraft Paper) ลักษณะของกระดาษคราฟท์ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหยาบ สีน้ำตาลตามสีของเนื้อไม้ที่นำมาทำเยื่อแล้วผลิตกระดาษแต่บาง    ชนิดก็มีสีขาว เพราะใช้เยื่อฟอกขาวหรืออาจมีสีอื่นๆ ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตและความต้องการของตลาด
– คุณลักษณะของกระดาษคราฟท์ กระดาษคราฟท์เป็นกระดาษที่มีความเหนียวและแข็งแรงกว่ากระดาษธรรมดา สามารถป้องกันแรงอัดและการทิ่มทะลุ        เนื่องจากการกระทบกระแทกจากภายนอกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการต้านทานการเปียกน้ำ ต้านทานการเปรอะน้ำมัน ต้านทานการ              เสียดสี มีน้ำหนักกระดาษมีความหนา และมีความเรียบสม่ำเสมอ สามารถติดกาวได้ดีและเหมาะสำหรับการพิมพ์ จากคุณลักษณะที่ดีเด่นของกระดาษ              คราฟท์ชนิดต่างๆ ทำให้สามารถนำมาแปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์และภาชนะหีบห่อได้อย่างเหมาะสม ทั้งด้านการผลิต การบรรจุและการขนส่ง นอกจากนี้ยัง            สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษได้อีก ช่วยให้ลดปัญหามลพิษด้านสภาวะแวดล้อมลงได้ระดับหนึ่งดังนั้น กระดาษคราฟท์จึง      เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้กันมากในวงการอุตสาหกรรม

ชนิดของกระดาษคราฟท์

คุณภาพการนำไปใช้งานแตกต่างกัน เกรดกระดาษที่ใช้ มีดังต่อไปนี้

  ( น้ำหนักมาตราฐาน : 170  กรัม/ตารางเมตร )

KS – กระดาษคราฟท์สีขาวสำหรับทำผิวกล่อง มีความเรียบ สะอาด เหมาะสำหรับกล่องที่เน้นความสวยงาม และ ช่วยให้การพิมพ์ที่มีสีสันชัดเจน  ดูโดดเด่น เพิ่มคุณค่าให้สินค้าที่บรรจุภายใน นอกจากนี้ กระดาษ KS ยังมีความแข็งแรงสูง สามารถปกป้องสินค้าได้ดี นิยมใช้สำหรับ กล่องเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเพื่อการส่งออก และกล่องอุปโภคบริโภค ที่ต้องการบ่งบอกถึงความมีระดับของสินค้า เป็นต้น

 

( น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150, 185, 230  กรัม/ตารางเมตร )

KA – กระดาษคราฟท์สีเหลืองทองสำหรับทำผิวกล่อง มีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ สามารถรองรับน้ำหนักได้ดีเยี่ยม และเป็นสีที่นิยมใช้กันมากในประเทศ เหมาะสำหรับ สินค้าอะไหล่ยนต์ อาหารกระป๋อง กล่องเฟอร์นิเจอร์ ที่ต้องการความมั่นใจในเรื่องความแข็งแรงทุกรูปแบบ ทั้งการเรียงซ้อน และ การป้องกันการกระแทก

 

( น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150, 185  กรัม/ตารางเมตร )

KI – กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลอ่อนสำหรับทำผิวกล่อง สีอ่อนสบายตา เหมาะกับงานพิมพ์ภาพหรือตัวหนังสือ ให้มีสีสวยงามด้านการพิมพ์เป็นรองเพียงกระดาษ KS เท่านั้น นิยมใช้กับสินค้าที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมากเท่า KA  เหมาะกับกล่องสินค้าทั่วไป เช่น กล่องอาหารสำเร็จรูป กล่องเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการพิมพ์เป็นภาพสี เป็นต้น 

                 

( น้ำหนักมาตราฐาน : 175, 275 กรัม/ตารางเมตร )

KP – กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลสำหรับทำผิวกล่อง มีโทนสีใกล้เคียงกับกระดาษต่างประเทศ เป็นที่ยอมรับกันในสากล เหมาะกับการใช้ผลิตกล่องสำหรับสินค้าส่งออกทุกชนิด  

 

( น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150  กรัม/ตารางเมตร )

KT –  กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลสำหรับทำผิวกล่อง ผลิตจากเยื่อ Recycled 100%  เพื่อส่งเสริมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแต่ยังคงความสวยงามและความ แข็งแกร่ง มีคุณสมบัติเด่นในเรื่องการวางเรียงซ้อน เหมาะกับสินค้าส่งออกที่ระบุให้ใช้กล่องที่ทำจากเยื่อ Recycled ทั้งหมด

 

 ( น้ำหนักมาตราฐาน : 105, 125  กรัม/ตารางเมตร )

CA –  กระดาษคราฟท์สำหรับทำลอนลูกฟูก มีคุณสมบัติความแข็งแรงในการป้องกันแรงกระแทก สำหรับทำลอนลูกฟูกขนาดต่างๆได้ทุกลอนให้ได้คุณภาพสูง ความแข็งแรงสัมพันธ์กับน้ำหนักมาตราฐานของกระดาษ นอกจากนี้ กระดาษ CA ยังนิยมนำมาใช้ทำเป็นกระดาษทำผิวกล่องด้านหลังเพื่อลดต้นทุนอีกด้วย

ค่าความแข็งแรงของกระดาษคราฟท์แต่ละชนิด (Kraft Liner Board Specification )

เกรดกระดาษPaper Grade น้ำหนัก/กรัม Basic Weight  (g/m^2+/-4%) ค่าแรงกดวงแหวน Ring Crush (N/152.4 mm) Min. ค่าความต้านทานแรงดันทะลุ  Burst (KPa) Min. ระดับความชื้นMoisture (%)
KA125 125 160-170 390-400 6-9
KA150 150 210-220 460-490 6-9
KA185 185 280-300 520-560 6-9
KA230 230 380-410 640-680 6-9
KI125 125 125-155 300-350 6-9
KI150 150 170-200 370-440 6-9
KI185 185 230-260 460-540 6-9
KP175 175 210 410 6-9
KP275 275 345 600 6-9
KT125 125 140 275 6-9
KT150 150 190 350 6-9
TA125 125 150-155 275-320 6-9
TA150 150 200-215 350-375 6-9
Facebook Comments

ใส่ความเห็น