กล่องบรรจุภัณฑ์กระดาษประเภทต่าง ๆ
Contents
กล่องบรรจุภัณฑ์กระดาษประเภทต่าง ๆ
กล่องกระดาษ มีหลากหลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
- กล่องไดคัท / แผ่นไดคัท เป็นกล่องที่มีความหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการออกแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานและเน้นความสวยงามเป็นพิเศษ กระดาษที่ใช้เป็นแบบใดก็ได้ อาจจะเป็นกระดาษแข็ง กระดาษการ์ดอาร์ต กระดาษลูกฟูก หรือ อื่นๆจะมีเพลทไดคัทแม่แบบสำหรับทำกล่องรูปแบบต่างๆ ต้องนำกล่องไปเข้าเครื่องปั๊มมันจะถูกปั๊มตามแม่แบบที่ต้องการ จากนั้นจะได้ออกมาเป็นแผ่นที่ผ่านการตัดตามรูปทรงที่ต้องการ แล้วนำมาประกอบเป็นกล่องรูปทรงสวยงาม นิยมมาใช้เป็นกล่องบรรจุสินค้าที่ต้องการความสวยงามหรือเรียกว่ากล่อง Inner Box เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ หรือเพื่อวางโชว์สินค้า สะดวกในการใช้งานบรรจุสินค้าประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เกษตรแปรรูป ของเล่น อุปกรณ์ไฟฟ้า ผักสด ผลไม้ เป็นต้น
- กล่องกระดาษแข็งมีน้ำหนักที่เบา สามารถทำการพิมพ์ลวดลายกราฟฟิกหรือโลโก้เพื่อการตกแต่งสินค้าได้ง่ายเป็นบรรจภัณฑ์ขายปลีกที่ได้รับความนิยมสูงสุดสามารถทำจากกระดาษแข็งได้หลาย ชนิด อาทิ กระดาษไม่เคลือบ ( กระดาษขาว – เทากระดาษเคลือบ กระดาษการ์ด กระดาษอาร์ตมัน กระดาษฮาร์ตบอร์ด เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถเคลือบวัสดุอื่น เช่น วานิช พลาสติก ไข เพื่อปรับคุณสมบัติให้ดีขึ้น
รูปแบบของกล่องกระดาษแข็งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ กล่องแบบพับได้ (Folding Carton) หรือ (Cardboard) กล่องแบบคงรูป (Set-Up Box)
2.1 กล่องกระดาษแข็งแบบพับได้ กล่องกระดาษแข็งสามารถขึ้นรูปและจัดส่งเป็นแผ่นแบบราบ (Flat Blanks) เมื่อถึงโรงงานบรรจุ อาจนำไปทากาวพร้อมบรรจุผลิตภัณฑ์หรือสินค้าหรือบางครั้งตัวกล่องอาจทากาวตาม ขอบข้างกล่องไว้เรียบร้อย เพื่อทำการบรรจุและปิดฝากล่อง ได้ทันที กล่องกระดาษมีทั้งแบบท่อ (Tube) และแบบถาด (Tray)
2.2 กล่องกระดาษแบบคงรูป เป็นกล่องที่ขึ้นรูป และแปรรูปเป็นกล่องเรียบร้อยแล้ว ตัวอย่างเช่น กลักไม้ขีด หรือกล่องใส่รองเท้าแบบมีฝาครอบกล่อง การผลิตกล่องกระดาษคงรูปจะผลิตช้ากว่ากล่อง กระดาษแข็งแบบพับได้ ทำให้ราคาต่อหน่วยสูง ทั้งกระบวนการผลิตและการขนส่ง ส่วนดีของกล่องแบบนี้ คือ สามารถใช้งานได้นาน และถ้ามีการออกแบบที่ดีจะช่วยเสริมคุณค่าของสินค้าภาย ใน ให้สามารถดึงดูด ความสนใจของผู้ซื้อได้ดีอีกด้วย
ส่วนกระดาษแข็งที่ใช้ทำกล่องมี 2 ประเภทดังนี้
1. กระดาษกล่องขาวไม่เคลือบ กระดาษชนิดนี้คล้ายกับชนิดเคลือบแต่เนื้อหยาบกว่า สีขาวของกระดาษไม่สม่ำเสมอ แต่ราคาถูกกว่า ต้องพิมพ์ด้วยระบบธรรมดา เช่น กล่องใส่รอง เท้า กล่องใส่ขนมไหว้พระจันทร์ เป็นต้น
2. กระดาษกล่องขาวเคลือบ กระดาษชนิดนี้ นิยมใช้ในการบรรจุสินค้าอุปโภคและบริโภคกันมากเพราะสามารถพิมพ์ระบบออฟเซ็ท สอดสีได้หลายสีสวยงาม และทำให้สินค้าที่บรรจุภายในกล่องดูมีคุณค่าขึ้น มีขายตามร้านขายเครื่องเขียนทั่วไป เรียกอีกชื่อว่ากระดาษแข็งเทา – ขาว ในการทำกล่องบรรจุผลิตกัณฑ์อาหารนิยมใช้กระดาษชนิดนี้เพราะหาซื้อง่าย
การเลือกใช้กล่องกล่องกระดาษแข็ง ต้องพิจารณาคุณสมบัติที่เกี่ยวกับการใช้งานเป็นหลัก เช่น ความชื้น การต้านแรงดันทะลุ ความสามารถในการรับน้ำหนักได้ประมาณ 2- 3 ปอนด์ แล้วแต่ขนาดและความหนาของกระดาษ ความเรียบของผิวกระดาษ ความหนา ความขาว สว่าง สามารถพิมพ์สีสรรได้ดี คงทนต่อการโค้งงอ สามารถพับเป็นแผ่นแบนได้ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บและขนส่งมีขนาดมากามาย ให้เลือกได้ตามต้องการ ง่ายที่จะตัด เจาะหรือบิด มีราคาถูก ทั้งวัสดุและกรรมวิธีการผลิตในการออกแบบกล่องกระดาษแข็งการเลือกขนาด ของกระดาษและแบบของกล่องจะขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้าและความต้องการของตลาด การตั้งวางต้องคงตัว แข็งแรง ให้ความสวยงามเมื่อตั้งวางเป็นกลุ่ม ง่ายแก่การหยิบและถือ กล่องที่นักอาจมีหูหิ้วก็ได้ ฯลฯ
กระดาษชนิดต่างๆ
กระดาษธรรมดา สำหรับการพิมพ์เอกสารทั่วไป ใช้กระดาษธรรมดา (Plain Paper) ซึ่งเป็นกระดาษที่มีความหนา 80 – 120 แกรม ไม่มีการเคลือบสารเคมีพิเศษสำหรับผลงานการพิมพ์ภาพสีกราฟิกที่มีคุณภาพแต่ อย่างใด ดังนั้นเวลาใช้กระดาษในการพิมพ์ จะทำได้ดีที่สุดที่ความละเอียด 300 dpi เท่านั้น ถ้าหากใช้ความละเอียดสูงกว่านี้ หมึกพิมพ์จะซึมกระดาษ และกระดาษจะไม่แห้ง ในทางปฏิบัติแล้วเป็นไปได้เหมือนกันที่บางคนจะเอากระดาษธรรมดา มาพิมพ์ภาพที่ละเอียด 600 X 600 ถ้าหากใช้กระดาษที่มีความหนาเกิน 100 แกรมก็ทำได้
กระดาษปอนด์ มีความหนามากกว่า 160 แกรม ก็เป็นทางเลือกที่ดีในการนำมาพิมพ์ด้วยอิงค์เจ็ต เพราะจะป้องกันการซึมของหมึก กระดาษปอนด์เหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ราคากระดาษปอนด์แพงพอๆกับกระดาษที่ออกแบบสำหรับอิงค์เจ็ต ทำให้ผู้ใช้งานหันไปใช้กระดาษอิงค์เจ็ตแทน ซึ่งมีทั้งกระดาษยี่ห้อเดียวกับพรินเตอร์ และกระดาษที่ผลิตโดยผู้ผลิตกระดาษอิสระ
กระดาษสำหรับอิงค์เจ็ต (InkJet Paper) เป็นกระดาษเคลือบพิเศษ ทั้งกระดาษที่พิมพ์ได้ด้านเดียว และพิมพ์ได้สองด้าน ลักษณะของกระดาษไม่แตกต่างจากกระดาษธรรมดา ความหนาก็ไม่แตกต่าง แต่สิ่งที่แตกต่างคือ การเคลือบพิเศษ ทำให้มีคุณสมบัติในการรองรับหยดหมึกที่จะพิมพ์บนกระดาษ โดยทั่วไปกระดาษสำหรับอิงค์เจ็ต จะพิมพ์รายงานที่มีแผนภูมิประกอบได้อย่างสวยงามที่ 600 X 600 และกระดาษอิงค์เจ็ตระดับ Premium หรือ Deluxe สามารถรองรับการพิมพ์ได้ที่1440
กระดาษอาร์ตการ์ด
เป็นกระดาษที่มีการเคลือบผิวหน้าด้วยวัสดุบางอย่างให้มีผิวเรียบมัน ลักษณะจะมีผิวมันไม่มากนักทั้ง 2 ด้าน แต่มีความหนามากกว่ากระดาษอาร์ต สามารถพิมพ์ งานได้ทั้ง 2 ด้าน ใช้พิมพ์ภาพที่มีรายละเอียดสูง ทำให้ภาพคมชัดและออกมาสวยงาม เหมาะสำหรับผลิตงานประเภททำปก หรืองานกล่องที่ต้องการความหนา
กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า, อาร์ตการ์ด 1 หน้า โดยทั่วไปมีอยู่ 2 ขนาด คือ
• 25 นิ้ว x 36 นิ้ว
• 31 นิ้ว x 43 นิ้ว
กระดาษกล่องแป้ง ลักษณะมี 2 ผิว2 ด้าน ด้านหนึ่งมีสีขาวอีกด้านหนึ่งมีสีเทาเหมาะผลิตงานประเภท กล่องใน ชนิด ของ กระดาษกล่องแป้ง หน้าขาวหลังเทา และกระดาษกล่องแป้งหน้าขาวหลังขาว แกรม 230 – 500 แกรม ใช้ทำกล่อง บรรจุภัณฑ์ สินค้าทุกชนิด เช่น สินค้า OTOP กล่องเค้ก กล่องขนม โปสเตอร์ประกาศ โฆษณาสินค้า กระดาษแพคสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งท่อ เสื้อผ้า
กระดาษกล่องเคลือบผิวอะลูมิเนียม มีการเคลือบสารสีขาว (ดินขาว) หรือวัสดุพิเศษ แล้วผ่านการขัดมันโดยใช้ลูกกลิ้งโครเมียมสองลูก เพื่อให้ผิวหน้าเรียบ มีการประกบพลาสติกที่เคลือบด้วยไออะลูมิเนียม (metallized film) เพื่อให้มันเงาสวยงามใช้ทำกล่องบรรจุอาหารที่มีราคาสูง
กระดาษกล่องเคลือบพีอี มีการเคลือบสานสีขาว ( ดินขาว ) หรือวัสดุพิเศษ แล้วผ่านการขัดมันโดยใช้ลูกกลิ้งโครเมียมสองลูก เพื่อให้ผิวหน้าเรียบ ผิวในมีการประกบกับฟิล์ม PE เพื่อให้กันน้ำหรือไขมันได้ มึคุณสมบัติพิมพ์สอดสีได้สวยงาม ใช้ทำกล่องบรรจุภัณฑ์อาหารแช่แข็ง หรือขนมขบเคี้ยว เช่น คุกกี้ เป็นต้น
- กล่องกระดาษลูกฟูก เป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องกระดาษที่มีคุณลักษณะแข็งแรงมาก นิยมใช้ในการขนส่งสินค้า เพราะนอกจากช่วยป้องกันสินค้าให้ปลอดภัยแล้ว ยังสามารถออกแบบได้ตาม ความต้องการ ทั้งขนาด รูปลักษณะและพิมพ์สอดสีได้สวยงาม ในการใช้งานเราจะทำเป็นกล่องกระดาษลูกฟูก2 ชั้น ,3 ชั้น และ กล่องกระดาษลูกฟูก 5 ชั้น สามารถทำเป็นกล่องไดคัท และสามารถทำกล่องกระดาษลูกฟูก พิมพ์แบบออฟเซ็ท เพื่อให้ตัวกล่องมีความแข็งแรงพิเศษและได้งานพิมพ์ที่มีความสวยงามได้อีกด้วย
โครงสร้างของกล่องกระดาษลูกฟูกประกอบด้วย
- กระดาษแผ่นเรียบ ( Liner Board ) คือ กระดาษที่ติดอยู่กับลอนลูกฟูกเป็นแผ่นปะหน้าลอนลูกฟูกซึ่งเราจะใช้กระดาษคราฟท์เป็นกระดาษแผ่นเรียบนั่นเอง
กระดาษคราฟท์ (Kraft Paper) ลักษณะของกระดาษคราฟท์ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหยาบ สีน้ำตาลตามสีของเนื้อไม้ที่นำมาทำเยื่อแล้วผลิตกระดาษแต่บางชนิดก็มีสีขาว เพราะใช้เยื่อฟอกขาวหรืออาจมีสีอื่นๆ ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตและความต้องการของตลาด
คุณลักษณะของกระดาษคราฟท์ กระดาษคราฟท์เป็นกระดาษที่มีความเหนียวและแข็งแรงกว่ากระดาษธรรมดา สามารถป้องกันแรงอัดและการทิ่มทะลุเนื่องจากการกระทบกระแทกจากภายนอกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการต้านทานการเปียกน้ำ ต้านทานการเปรอะน้ำมัน ต้านทานการเสียดสี มีน้ำหนักกระดาษมีความหนา และมีความเรียบสม่ำเสมอ สามารถติดกาวได้ดีและเหมาะสำหรับการพิมพ์ จากคุณลักษณะที่ดีเด่นของกระดาษคราฟท์ชนิดต่างๆ ทำให้สามารถนำมาแปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์และภาชนะหีบห่อได้อย่างเหมาะสม ทั้งด้านการผลิต การบรรจุและการขนส่ง นอกจากนี้ยังสามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษได้อีก ช่วยให้ลดปัญหามลพิษด้านสภาวะแวดล้อมลงได้ระดับหนึ่งดังนั้น กระดาษคราฟท์จึงเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้กันมากในวงการอุตสาหกรรม
ชนิดของกระดาษคราฟท์
คุณภาพการนำไปใช้งานแตกต่างกัน เกรดกระดาษที่ใช้ มีดังต่อไปนี้
( น้ำหนักมาตราฐาน : 170 กรัม/ตารางเมตร )
KS – กระดาษคราฟท์สีขาวสำหรับทำผิวกล่อง มีความเรียบ สะอาด เหมาะสำหรับกล่องที่เน้นความสวยงาม และ ช่วยให้การพิมพ์ที่มีสีสันชัดเจน ดูโดดเด่น เพิ่มคุณค่าให้สินค้าที่บรรจุภายใน นอกจากนี้ กระดาษ KS ยังมีความแข็งแรงสูง สามารถปกป้องสินค้าได้ดี นิยมใช้สำหรับ กล่องเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเพื่อการส่งออก และกล่องอุปโภคบริโภค ที่ต้องการบ่งบอกถึงความมีระดับของสินค้า เป็นต้น
( น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150, 185, 230 กรัม/ตารางเมตร )
KA – กระดาษคราฟท์สีเหลืองทองสำหรับทำผิวกล่อง มีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ สามารถรองรับน้ำหนักได้ดีเยี่ยม และเป็นสีที่นิยมใช้กันมากในประเทศ เหมาะสำหรับ สินค้าอะไหล่ยนต์ อาหารกระป๋อง กล่องเฟอร์นิเจอร์ ที่ต้องการความมั่นใจในเรื่องความแข็งแรงทุกรูปแบบ ทั้งการเรียงซ้อน และ การป้องกันการกระแทก
( น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150, 185 กรัม/ตารางเมตร )
KI – กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลอ่อนสำหรับทำผิวกล่อง สีอ่อนสบายตา เหมาะกับงานพิมพ์ภาพหรือตัวหนังสือ ให้มีสีสวยงามด้านการพิมพ์เป็นรองเพียงกระดาษ KS เท่านั้น นิยมใช้กับสินค้าที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมากเท่า KA เหมาะกับกล่องสินค้าทั่วไป เช่น กล่องอาหารสำเร็จรูป กล่องเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการพิมพ์เป็นภาพสี เป็นต้น
( น้ำหนักมาตราฐาน : 175, 275 กรัม/ตารางเมตร )
KP – กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลสำหรับทำผิวกล่อง มีโทนสีใกล้เคียงกับกระดาษต่างประเทศ เป็นที่ยอมรับกันในสากล
เหมาะกับการใช้ผลิตกล่องสำหรับสินค้าส่งออกทุกชนิด
( น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150 กรัม/ตารางเมตร )
KT – กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลสำหรับทำผิวกล่อง ผลิตจากเยื่อ Recycled 100% เพื่อส่งเสริมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแต่ยังคงความสวยงามและความ แข็งแกร่ง มีคุณสมบัติเด่นในเรื่องการวางเรียงซ้อน เหมาะกับสินค้าส่งออกที่ระบุให้ใช้กล่องที่ทำจากเยื่อ Recycled ทั้งหมด
( น้ำหนักมาตราฐาน : 105, 125 กรัม/ตารางเมตร )
CA – กระดาษคราฟท์สำหรับทำลอนลูกฟูก มีคุณสมบัติความแข็งแรงในการป้องกันแรงกระแทก สำหรับทำลอนลูกฟูกขนาดต่างๆได้ทุกลอนให้ได้คุณภาพสูง ความแข็งแรงสัมพันธ์กับน้ำหนักมาตราฐานของกระดาษ นอกจากนี้ กระดาษ CA ยังนิยมนำมาใช้ทำเป็นกระดาษทำผิวกล่องด้านหลังเพื่อลดต้นทุนอีกด้วย
ค่าความแข็งแรงของกระดาษคราฟท์แต่ละชนิด (Kraft Liner Board Specification )
เกรดกระดาษPaper Grade | น้ำหนัก/กรัม Basic Weight (g/m^2+/-4%) | ค่าแรงกดวงแหวน Ring Crush (N/152.4 mm) Min. | ค่าความต้านทานแรงดันทะลุ Burst (KPa) Min. | ระดับความชื้นMoisture (%) |
KA125 | 125 | 160-170 | 390-400 | 6-9 |
KA150 | 150 | 210-220 | 460-490 | 6-9 |
KA185 | 185 | 280-300 | 520-560 | 6-9 |
KA230 | 230 | 380-410 | 640-680 | 6-9 |
KI125 | 125 | 125-155 | 300-350 | 6-9 |
KI150 | 150 | 170-200 | 370-440 | 6-9 |
KI185 | 185 | 230-260 | 460-540 | 6-9 |
KP175 | 175 | 210 | 410 | 6-9 |
KP275 | 275 | 345 | 600 | 6-9 |
KT125 | 125 | 140 | 275 | 6-9 |
KT150 | 150 | 190 | 350 | 6-9 |
TA125 | 125 | 150-155 | 275-320 | 6-9 |
TA150 | 150 | 200-215 | 350-375 | 6-9 |
- ลอนลูกฟูก ( Corrugated Medium ) คือ กระดาษที่มีลักษณะเป็นคลื่น
ชนิดของแผ่นกระดาษลูกฟูก
โดยทั่วไปแล้ว เราจะแบ่งกระดาษลูกฟูกเป็น 3 ชนิด ตามจำนวนชั้นของกระดาษ
1. Single Face (กระดาษลูกฟูกสองชั้น)
ประกอบไปด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 1 แผ่น ปะกบกับลอนลูกฟูก 1 แผ่น
นิยมใช้กันกระแทกสินค้าหรือ ปะกล่อง offset ลอนมาตรฐาน : B, C, E
2. Single wall (กระดาษลูกฟูกสามชั้น)
ประกอบไปด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 2 แผ่น ปะกบกับ ลอนลูกฟูก 1 แผ่น โดยลอนลูกฟูกจะอยู่ตรงกลางระหว่างกระดาษแผ่นเรียบทั้ง 2 แผ่นมักใช้กับสินค้าที่มีน้ำหนัก ปานกลาง หรือ ไม่เน้นความแข็งแรงมาก ลอนมาตรฐาน : B, C, E
3. Double wall (กระดาษลูกฟูกห้าชั้น)
ประกอบไปด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 3 แผ่น ปะกบกับ ลอนลูกฟูก 2 แผ่น โดยกระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ติดกับผิวกล่องด้านนอกจะเป็นลอน B เพื่อประโยชน์ทางการพิมพ์ และ กระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ด้านในจะเป็นลอน C เพื่อประโยชน์ทางด้านรับแรงกระแทก นิยมใช้สำหรับสินค้าที่ต้องการการป้องกันสูง หรือมีน้ำหนักมาก ลอนมาตรฐาน : BC (ลอนB จะอยู่ด้านนอกส่วนลอนCจะอยู่ด้านใน)
- Triple Wall (กระดาษลูกฟูก 7 ชั้น)
เป็น กระดาษลูกฟูกที่ผลิตเพื่อใช้งานในอุตสาหกรรมหนัก ที่ต้องรับน้ำหนักบรรจุเป็นจำนวนมาก เช่น เครื่องจักรในอุตสาหกรรม ประกอบด้วยกระดาษแผ่นเรียบ 4 ชั้นและลอนลูกฟูกอีก 3 ชั้น
ส่วนลอน BC เป็นลอนผสมระหว่างลอน B และ ลอน C หรือเรียกว่า กระดาษลูกฟูก 5 ชั้น คือ ใช้ลอน B และ ลอน Cประกบกัน ซึ่งจะมีความหนาและความแข็งแรง โดยกระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ติดกับ ผิวกล่องด้านนอกจะเป็นลอน B เพื่อประโยชน์ทางการพิมพ์ และ กระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ด้านในจะเป็นลอน C เพื่อประโยชน์ทางด้านรับแรงกระแทก เหมาะสำหรับทำกล่องรูปแบบทั่วๆไป สามารถรองรับน้ำหนักและกันกระแทกได้เป็นอย่างดี มีความแข็งแรงมากที่สุด เหมาะสำหรับใช้บรรจุสินค้าทีมีน้ำหนักมาก ขนย้ายไกลๆจำพวกส่งออก สินค้าที่ต้องวางซ้อนกันเป็นจำนวนมาก
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก ประกอบด้วย
1.1 แผ่นกระดาษลูกฟูก
1.2 บล็อกพิมพ์ (Printing Plate) วัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่ทำจากยาง หรือโพลิเมอร์
บล็อกพิมพ์มี 2 แบบ คือ แบบใช้มีดแกะ และแบบหล่อโดยใช้สารเคมี เพื่อให้เกิดเป็นตัวหนังสือและรูปภาพตามแบบที่ต้องการแล้วนำไปติดกับเครื่อง พิมพ์เพื่อทำการพิมพ์กล่องต่อไป
1.3 สีพิมพ์ (Printing Ink) สีพิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์กล่อง ถ้าเป็นระบบเฟลกโซ่ ส่วนใหญ่จะเป็นสีน้ำ (Water Based Ink)
1.4 กาว ส่วนใหญ่เป็นกาวลาเทกซ์ ใช้ติดลิ้นกาวของกล่อง
1.5 ลวดตอก ใช้ในการตอกลิ้นกาวของกล่องบางประเภทแทนที่จะใช้การติดกาว
กระบวนการผลิต
กระบวนการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกแบ่งออกเป็น 2 กระบวนการผลิตคือ กล่องแบบเย็บลวด และกล่องแบบติดกาว
1.1 กล่องแบบเย็บลวด
ส่วนมากจะเป็นกล่องที่มีขนาดใหญ่ บรรจุสินค้าที่มีน้ำหนักมาก หรือกล่องที่มีรอยต่อค่อนข้างยาว ทำการทากาวไม่สะดวก กระบวนการผลิตจะใช้เครื่องพิมพ์และเซาะร่อง (Printer Slotter) แล้วนำไปทำการตอกที่เครื่องตอก กระบวนการผลิตมีขั้นตอนคือการนำแผ่นลูกฟูกที่ออกจากเครื่องผลิตลูกฟูก ที่มีการทับรอยทำเส้นพับฝากล่อง ใส่ไปที่ส่วนป้อนแผ่นลูกฟูก (Feed Unit) ของเครื่องพิมพ์ โดยจะป้อนแผ่นลูกฟูกเข้าไปทีละแผ่น เข้าไปยังส่วนพิมพ์ (Printing Section) เพื่อทำการพิมพ์บนกล่อง การพิมพ์จะมีจำนวนตู้สีและแม่พิมพ์ของแต่ละสีแยกออกจากกัน จากนั้นตัดลิ้นกาวของกล่องที่ปลายด้านที่ 1 และเซาะร่อง (Slot) เพื่อแบ่งฝากล่องแต่ละด้าน แผ่นลูกฟูกที่ออกมาจะเป็นลักษณะของแผ่นคลี่แล้วจึงนำไปขึ้นรูปโดยการเย็บลวด บริเวณลิ้นกล่องเพื่อเชื่อมด้านที่ 1 และ 4 เข้าด้วยกันโดยใช้เครื่องเย็บแบบกึ่งอัตโนมัติ หรือแบบอัตโนมัติ
1.2 กล่องแบบติดกาว
เป็นกล่องที่ผลิตได้รวดเร็ว และมีการใช้กับสินค้าทั่วๆ ไปกระบวนการผลิตจะใช้เครื่องพิมพ์และติดกาวอัตโนมัติ (Flexo Folder Gluer) ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่รวมเครื่องพิมพ์ เครื่องเซาะร่อง เครื่องทับรอย เครื่องพับ และเครื่องทากาว (Printer Slotter และ Folder Gluer) เข้าไว้ด้วยกันในเครื่องเดียวกันในการผลิตกล่องชนิดนี้ แผ่นลูกฟูกจะทำการพิมพ์ ทำเส้นพับ และเซาะร่องเช่นเดียวกับกระบวนการผลิตของกล่องแบบเย็บลวด (Printer Slotter) จากนั้นเครื่องพับและเครื่องทากาว (Folder Gluer) จะทำการทากาวและพับประกบรอยต่อด้านที่ 1 และ 4 เข้าด้วยกันเป็นกล่องสำเร็จรูปโดยอัตโนมัติ จากนั้นจะผ่านเครื่องนับจำนวนแล้วมัดเชือกตามจำนวนที่กำหนดไว้
กล่องกระดาษลูกฟูกแบ่งเป็น
- กล่องแบบ RSC (Regular Slotted Container)
นิยมใช้มากกว่ากล่องชนิดอื่นๆ เนื่องจากผลิตได้ง่ายจากกระดาษแผ่นเดียว สิ้นเปลืองวัสดุน้อย มีฝาเปิดปิดที่กว้างเท่ากัน โดยฝากล่องแผ่นนอกบรรจบกันที่กึ่งกลางกล่องตามด้านยาวของฝากล่อง ฝากล่องแผ่นใน เว้นช่องห่างตามความสัมพันธ์ของด้านกว้างและด้านยาวของกล่อง สามารถขนส่งให้ลูกค้าเป็นแผ่นราบเสมอกัน ซึ่งคลี่ออกพับเป็นกล่องได้ทันที ซึ่งง่ายต่อการบรรจุและปิดกล่อง กล่อง RSC สามารถดัดแปลงขนาดเพื่อขนส่งผลิตภัณฑ์ได้เกือบทุกชนิด และสามารถใช้แผ่นรองเสริมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงได้
- กล่องแบบ FOL (Full Overlap Slotted Container หรือ Full Overlap Container)
มีฝาทุกด้านเปิดปิดกว้างเท่ากัน ฝากล่องแผ่นนอกกว้างเท่ากับด้านกว้างของกล่อง ทำให้ทับกันสนิท การซ้อนทับกันของฝาเปิดแผ่นนอกทั้งด้านบนและด้านล่าง จะช่วยเสริมความแข็งแรงของกล่อง เมื่อมีการวางซ้อนกัน จึงเหมาะสำหรับบรรจุสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก อีกทั้งยังช่วยต้านทานการ handling ที่ไม่ปราณีตได้ดีขึ้น
- กล่องแบบ HSC (Half Slotted Container with Cover)
ประกอบ ด้วย 2 ส่วน ฝาครอบและตัวกล่อง เป็น กล่องสล็อตมีฝาเปิดปิดด้านเดียว ไม่มีฝาเปิดปิดในตัว โดยกล่องจะถูกปิดด้วยฝาครอบต่างหาก ฝาครอบยื่นครอบตัวกล่องน้อยกว่าสองในสามของความสูงของตัวกล่อง ฝาครอบลักษณะเดียวกันกับ design style หรือ เป็นแบบ half-slotted style ก็ได้ เมื่อ ต้องการทั้งการขนส่ง และตั้งโชว์ และในงานที่ต้องเปิดปิดฝาครอบบ่อยครั้ง สำหรับฝาครอบแบบ half slotted style นั้นใช้มากในอุตสาหกรรม แบตเตอรี่, ตู้เย็น, เครื่องซักผ้า ฯลฯ
- กล่องแบบ PTHS (Half Slotted Box with Half Slotted Partial Cover)
ประกอบด้วยกล่อง 2 ชิ้น คือ ฝาครอบกับตัวกล่องซึ่งต่างก็เป็นแบบ slotted style ทน ต่อการโก่งตัวและบวมโค้งงอ (bulging & bulking) เมื่อกล่องได้รับน้ำหนักทับมาก บางครั้ง ผู้ผลิตก็จงใจที่จะให้มีการบรรจุสินค้ามากเกินไป (over-packed) แต่กล่องก็สามารถรับน้ำหนักได้ดี
- กล่องแบบ FPF (Five Panel Folder)
ลักษณะเหมือนกล่อง RSC แต่ความสูงน้อยมาก เมื่อเทียบกับความยาวปิดเป็นรูปกล่องโดยใช้เทปปิด ทั้งสองปลายกล่องให้ความทนทานดีเนื่องจากมีฝาปิด เหมาะเป็นภาชนะสำหรับขนส่งสิ่งของที่เป็นของแท่งลำยาวๆ เช่น หวาย ลูกกลิ้ง ร่ม และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ
มี 2 แบบ
-แบบฝาปิดเต็ม
ฝาสามารถปิด-เปิดได้ ส่วนด้านข้างให้ใช้แม็กเย็บ
– แบบฝาปิดมาตรฐาน
ฝาปิดจะชนกันตรงกลางแล้วใช้เทปกาวปิด ส่วนด้านข้างให้ใช้แม็กเย็บ
- ส่วนประกอบต่างๆ ภายในกล่อง (Partitions and Pads)
ชิ้นส่วนประกอบต่างๆ ภายในกล่อง ใช้สำหรับแบ่งกั้นและลดแรงกระแทกระว่างวัตถุ อีกทั้งยังช่วยลดช่องว่างระหว่างสิ่งของที่บรรจุอยู่ในกล่อง แผ่นรองทำจากแผ่นกระดาษลูกฟูกแผ่นเดียวตามความต้องการใช้งาน สามารถนำมาทำเป็นแผ่นกั้นสิ่งของ หรือใช้รองสิ่งของในแต่ละชั้น ทำให้สิ่งของได้รับการปกป้องมากยิ่งขึ้นระหว่างการขนส่ง ไส้ในกล่องผลิตขึ้นจากการวางสับกันของแผ่นกระดาษลูกฟูก นิยมใช้มากสำหรับสิ่งของที่บอบบาง แตกง่าย เช่น เครื่องแก้ว ขวด แจกัน ต่างๆ เมื่อขึ้นรูป ไส้ในจะช่วยเสริมให้กล่องมีความแข็งและอยู่ทรงมากขึ้นอีกด้วย
ขั้นตอนการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก
เริ่มจากการนำกระดาษทำลอนลูกฟูกมาขึ้นรูปเป็นลอนลูกฟูกและนำกระดาษทำ ผิวกล่องมาปะหน้าและหลัง จนได้เป็นแผ่นกระดาษลูกฟูก 3 ชั้น หรือ 5 ชั้น ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของกล่องที่ต้องการ ยิ่งจำนวนชั้นของกระดาษมากขึ้นก็จะทำให้รับแรงกระแทกได้ดีมากยิ่งขึ้น แล้วจึงทำการทับรอยและตัดกระดาษให้ได้ขนาดที่จะทำเป็นกล่อง จากนั้นจึงทำการพิมพ์สีเฟล็กซ์โซลงบนกล่อง และเซาะร่องกล่องไปในตัวสำหรับกล่อง 4 ฝา หากเป็นกล่องไดคัทจะไม่ทำการเซาะร่องที่เครื่องพิมพ์ แต่จะนำไปปั๊มด้วยเพลทมีดไดคัททีละ 1 ใบ ให้มีลักษณะรูปทรงพิเศษตามที่ต้องการ ขั้นตอนสุดท้ายคือการประกบกล่อง ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ การปะกาวที่ลิ้นกล่อง และการเย็บด้วยลวดทองแดงหรือลวดเงินที่ลิ้นกล่อง เพื่อทำให้กล่องติดกัน แล้วจึงพับกล่องให้แบนราบเพื่อนความสะดวกในการขนส่ง โดยที่ลูกค้าสามารถขึ้นรูปและบรรจุสินค้าได้อย่างสะดวกเช่นกัน
บริการพิมพ์งานคุณภาพมาตรฐานด้วยประสบการณ์ในธุรกิจโรงพิมพ์มายาวนาน รับพิมพ์งานสี่สี พิมพ์สอดสี พิมพ์ออฟเซ็ท ราคายุติธรรม ส่งมอบงานพิมพ์ตรงเวลา
โรงพิมพ์ วีเคเค.บรรจุภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านงานพิมพ์ทั้งงานใหญ่/งานเล็ก
www.vkk-packaging.com
วีเคเค. บรรจุภัณฑ์ รับผลิตงานพิมพ์ดิจิตอล